How to open bank account!

พาไปเที่ยวกันมาหลายเอนทรี่แล้ว คราวนี้ขอพามาเข้าเรื่องมีสาระกันบ้างดีกว่านะคะ รู้ไหมค่ะ? ว่าพวกคนอเมริกันเนี่ย เขาไม่นิยมพกเงินสดติดตัวกันคราวละมากๆ อย่างเมื่อเราเนี่ย พกแบงค์ $100 ก็ไม่ค่อยพกกันแล้ว ส่วนมากเขาจะนิยมพกกันเป็นแบงค์เล็กๆอย่างพวกแบงค์ $20,$10,$5 และ $1 มากกว่า เพราะสะดวกในการใช้ซื้อของ (บางร้านจะติดป้ายเลยว่าไม่รับแบงค์ที่ใหญ่กว่า $20) และไม่ต้องกังวลว่าเงินจะหาย หรือจะโดนจี้ โดนปล้น

แล้วพวกเด็กไทยไป WAT อย่างเราเนี่ยแหละค่ะ เป็นกลุ่มที่พกเงินสดกันเยอะมากๆๆ บางคนพกไป $2000-$3000 กันเลยทีเดียว อยากบอกว่า อันตรายมากๆ เสี่ยงต่อการหาย และจะเกิดปัญหาตามมาทีหลัง มากมายค่ะ เช่น ถ้าเงินหายในบ้าน ก็จะอยู่บ้านร่วมกันอย่างไม่มีความสุขแล้ว เพราะต้องมาคอยระแวงกันเอง

แล้วอย่างนี้เราจะทำอย่างไรดี?

ขอแนะนำให้ไปเปิดบัญชีธนาคารไว้เลยค่ะ เป็นวิธีที่เซฟและสะดวกสบายมาก เพราะนางจ้างบางรายก็จะจ่ายค่าแรงเป็นเชคเงินสดให้เราไปขึ้นเงินเอง ซึ่งถ้าเรามีบัญชีธนาคารไว้ นอกจากจะปลอดภัยหายห่วงเรื่องเงินหายแล้ว ยังนำเชคไปขึ้นเงินแล้วใส่เข้าบัญชีอัตโนมัติ แถมที่อเมริกาเนี่ย พวกบัครเดบิตต่างๆไม่มีค่าธรรมเนียมการเปิดบัตรนะคะ คือถ้าเปิดบัญชี เค้าก็จะให้บัตรเดบิตไว้ใช้รูดซื้อสินค้าและกดเงินสดมาด้วยเลย สะดวกสบายมากๆ! (แต่ตู้ ATM ที่นี่หายากมากก อย่างว่าแหละ เค้าไม่ใช้เงินสดกันเท่าไหร่ เพราะทีนี้แค่ดอลล์เดียวก็รูดบัตรได้ค่ะ)

สำหรับวิธีการเปิดบัญชีก็ง่ายแสนง่ายค่ะ เพียงแค่เตรียมเอกสารไปให้ครบ เช็ควันและเวลาเปิดทำการของธนาคารให้ดี และควรไปอย่างน้อยก่อนเวลาธนาคารปิด 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมงครึ่งนะคะ (เพราะก่อนธนาคารปิดครึ่งชั่วโมงเขาจะปิดให้บริการเปิดบัญชีค่ะ ต้องมาใหม่วันหลังนะ)

เอกสารที่ต้องเตรียมไปสำหรับการเปิดบัญชีธนาคารก็คือ พาสปอร์ตของเราค่ะ และควรท่องจำเบอร์โทรศัพท์บ้าน(ในกรณีที่ยังไม่มีเบอร์มือถือที่อเมริกา) และที่อยู่บ้านไปด้วยนะคะ แต่เพื่อความเตรียมพร้อม ขอแนะนำให้ลองเข้าไปถามเจ้าหน้าที่ธนาคารก่อนล่วงหน้าว่า ต้องเตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง เพราะบัญชีที่อเมริกามีหลายแบบหลายประเภทค่ะ

สำหรับธนาคารในออลีนส์ มีอยู่หลายแบงค์ด้วยกัน เราเลือกเปิดไว้สองแบงค์ค่ะ หนึ่งคือ TD Bank เพราะที่ Wendy's นายจ้างจายเช็คค่าแรงเป็นของธนาคาร TD Bank เอาไว้เวลานำเช็คไปขึ้นจะได้สะดวก และสองคือ Bank of America ค่ะ ตอนแรกอยากเปิดเพราะคิดว่ามันเท่ห์ดี ฮ่าๆ (เหตุผลป่วงๆ) แต่ไปๆมาๆก็เอาบัญชีนี้ไว้เป็นเงินเก็บค่ะ ส่วนของ TD Bank ก็เอาไว้ใช้จ่าย กินเที่ยวก็ว่าไป....

สำหรับ TD Bank นั้นเมื่อเปิดบัญชีธนาคารเสร็จก็จะได้รับบัตรเดบิตเอาไว้ใช้เลยค่ะ แต่สำหรับของ Bank of America จะได้บัตรเดบิตสำรองมาใช้ก่อน ประมาณ 7 วัน บัตรเดบิตตัวจริงที่มีชื่อเราอยู่บนบัตรก็จะส่งมาค่ะ ก็ต้องทำการ Verify บัตรด้วยการนำไปเสียบกับเครื่อง ATM ค่ะ

ในส่วนของการใช้จ่ายบัตรเดบิตที่อเมริกานั้น ถือว่าสะดวกและรวดเร็วมาก จนแทบไม่ต้องพกเงินสดอีกต่อไป (ยกเว้นค่ารถ) เพราะทีนี้เค้าจะมีเครื่องรูดบัตรให้เราสามารถใช้จ่ายผ่านบัตรได้แทบทุกที่ และไม่มีขั้นต่ำในการรูด (เพราะเราเคยรูดเบอร์เกอร์ราคาพนักงานที่ Wendy's แค่ 79 เซนต์ก็รูดได้นะเออ! แต่ด้วยความที่มันรูดง่าย จ่ายสะดวกนี่แหละค่ะ เราจึงต้องรักษาบัตรเดบิตของเราให้ดีๆ อย่าเผลอไปทำหาย หรือตกหล่นที่ไหน และอย่าเอาเลขหน้าบัตรไปบอกหรือโชว์ให้ใครเห็นสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะเลขพวกนี้สามารถนำไปซื้อของ Online ได้อย่างง่ายดายเลยค่ะ อย่างน้องในบ้านเราไปเที่ยวบอสตัน ให้บัตรเดบิตกับพนักงานไป สักพักธาคารก็โทรมาแจ้งว่ามียอดรูดซื้อของที่ Florida ประมาณ 100 กว่าเหรียญ! ดีนะที่ธนาคารโทรมาสอบถามก่อนให้ตัดยอดไป ไม่งั้นคงสูญเงิน 100 กว่าเหรียญไปฟรีๆ (ประมาณ 3000 กว่าบาท)

การนำเช็คไปขึ้น,ฝากและถอนเงินที่เมกาก็เป็นเรื่องที่ง่ายมากกกค่ะ โดยเมื่อเรามีบัญชีธนาคารแล้ว เวลานเช็คไปขึ้นก็แค่ยื่นเช็คที่มีลายเซนต์ของเราด้านหลังไปพร้อมกับบัตรเดบิตแค่นี้ก็เรียบร้อยแล้วค่ะ รอเงินเข้าประมาณ 1-2 วันค่ะ

การฝากเงิน ก็ทำเหมือนกับนำเช็คไปขึ้นค่ะ แค่นำเงินไปยื่นที่เคาท์เตอร์พร้อมบัตรเดบิตก็เรียบร้อยแล้วค่ะ

การถอนเงิน เราแนะนำให้ถอนที่ตู้ค่ะ สะดวกสบายเหมือนตู้เอทีเอ็มที่ไทย ต่างกันที่ตู้เอทีเอ็มที่อเมริกา พอเสียบบัตรเข้าไปแล้ว กดรหัส แล้วต้องดึงบัตรออกก่อนนะคะถึงจะทำธุรกรรมการเงินต่อไปได้ ไม่ต้องเสียบบัตรค้างไว้เหมือนตู้ที่ไทยค่ะ อาจจะยากหน่อยตรงที่ขั้นตอนทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหมด แต่รับรองไม่ยากค่ะ ท่องให้ขึ้นใจไว้ว่า Withdraw แปลว่าถอนเงิน ส่วน Deposit แปลว่าฝากเงินจ้าาา....

อ้อ! แล้วก็ธนาคารที่อเมริกานั้นลักษณะจะเป็นชั้นเดียวคล้ายๆบ้านคนนี่แหละค่ะ มีทั้งแบบเป็นไดรฟ์ทรู  (ขับรถเข้าไปกดเงิน) แบบเดินเข้าไปถอนเงินที่เคาท์เตอร์ธนาคาร และแบบตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเอทีเอ็มบางตู้ เช่น Bank of America นั้น ก่อนจะเดินเข้าไปต้องผ่านประตูก่อนค่ะ จะไม่ตั้งโด่เด่อยู่ริมถนนเหมือนบ้านเรา ซึ่งถ้าเราไม่มีบัตรของธนาคารนั้นเราก็จะไม่สามารถเปิดประตูเข้าไปถึงตู้ ATM ได้นะคะ (คล้ายๆบัตรเป็น Key card ด้วยประมาณนั้น) ดังนั้นไปทำธุรกรรมการเงินก็อย่าลืมพกบัตรเดบิตไปด้วยนะจ๊ะ

ส่วนเรื่องการปิดบัญชีนั้น ขอบอกตรงๆว่าไม่ทราบค่ะ เพราะเราไม่ได้ปิดบัญชี เนื่องจากเราต้องมาเที่ยวเกาหลีต่อและใช้บัตรของอเมริกาเป็นตัวตัดยอด จึงต้องห้ามปิดบัญชีเพื่อนำไปรูดที่เกาหลีค่ะ แต่ก็อยู่มาสองปีแล้วนะคะ ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นตามมาที่ประเทศไทย ฮ่าๆ แต่ถ้ากังวลก็ควรปิดบัญชีให้เรียบร้อยก่อนกลับประเทศไทย่คะ :)

มีข้อสงสัยตรงไหนคอมเม้นทิ้งไว้นะคะ แล้วจะมาตอบแน่นอนค่ะ :))




สวัสดีค่ะ :D

Comments

  1. พี่คะ ถ้าไม่ปิดบัญชี เพราะจะเอามารูดต่อที่เกาหลี

    แล้วเงินเหลือ พอกลับมาไทย เราสามารถกดออกมาได้มั้ยคะ?
    เสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่พอจะทราบมั้ยคะ?

    ReplyDelete
    Replies
    1. รู้สึกว่าจะมีค่าธรรมเนียมการกดอยู่ครั้งล่ะร้อยหรือ150นี่แหละคะ ขึ้นอยู่กับธนาคารด้วย แต่ทางที่ดีแนะนำให้กดที่อเมริกาออกมาให้หมดดีกว่านะคะ แล้วเอาเงินดอลล์ไปแลกที่ร้านรับแลกเงิน ที่เกาหลี(ไม่ใช่ธนาคาร) จะได้เรทค่าเงินดีกว่าเอาบัตรไปรูดนะคะ

      Delete

Post a Comment

Popular Posts